ดูบทความ
ดูบทความเสื้อกาวน์สีขาว - White gown effect
เสื้อกาวน์สีขาว - White gown effect
เสื้อกาวน์สีขาว - White gown effect
เมื่อเราเดินเข้าไปในโรงพยาบาล เมื่อได้เห็นคนใส่เสื้อกาวน์สีขาว เราก็จะเข้าใจทันทีเลยว่า นั่นต้องเป็นบุคลากรทางการแพทย์แน่โดยเฉพาะอย่างยิ่ง คุณหมอ แต่ความเข้าใจที่ว่านี้ไม่ถูกต้องเสมอไปครับโดยเฉพาะโรงพยาบาลใหญ่แห่งหนึ่งในเมืองเมลเบิร์น ออสเตรเลีย St. Vincent’s
"ขอโทษนะคะ คุณใช่คุณหมอหรือเปล่าคะ"
เป็นคำถามที่เหล่านักเรียนแพทย์มือใหม่มักจะได้ยิน ทั้งจากคนไข้ พยาบาล ตลอดจนบุคลากรอื่นๆในโรงพยาบาลแห่งนี้ แต่คำถามนี้ก็ไม่ได้ทำให้นักเรียนแพทย์ลูกสาวหงุดหงิดเลย ตรงข้ามกลับปิติยินดีและภูมิใจทุกครั้งเมื่อถูกถามด้วยคำถามนี้ ด้วยเหตุผลที่ว่าเอ่อ..เรานี่ก็ดูดีมีมาดเป็นคุณหมอเหมือนกันนะ
ภายในโรงพยาบาลที่ค่อนข้างใหญ่เเห่งนี้ นอกเสียจากพยาบาลที่ใส่ชุดพยาบาล และคนไข้ที่ใส่ชุดคนไข้แล้ว เราไม่มีทางรู้เลยว่าใครเป็นใคร ใครเป็นหมอ ใครเป็นนักเรียนแพทย์ นี่ก็เป็นเพราะว่าที่โรงพยาบาลแห่งนี้ ได้มีการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่เมื่อหลายปีที่แล้ว
ถ้าใครเดินผ่านเข้ามาในโรงพยาบาลแห่งนี้ จะไม่มีโอกาสได้เห็นใครใส่เสื้อกาวน์สีขาวเดินไปมาเลย การเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ที่ว่านี้คือ "การไม่ให้แพทย์และนักเรียนแพทย์ใส่เสื้อกาวน์สีขาว" โดยมีจุดมุ่งหมายที่จะป้องกันการแพร่เชื้อโรคในโรงพยาบาล
ทางโรงพยาบาลเชื่อว่าแพทย์เองซักเสื้อกาวน์ไม่บ่อย เกรงว่าเสื้อกาวน์นี่แหละจะเป็นตัวกลางแพร่เชื้อโรคจากคนไข้คนนึงไปสู่อีกคนหนึ่งได้ง่าย และการที่จะให้โรงพยาบาซักเสื้อกาวน์ให้แพทย์ที่มีจำนวนมากทุกวัน ก็อาจจะเป็นการเพิ่มค่าใช้จ่ายมากจนเกินไป จึงตัดปัญหานี้โดยการกำจัดเสื้อกาวน์ที่เป็นเสมือนสัญญลักษณ์ของแพทย์ออกไป แล้วให้แพทย์ซักเสื้อตัวเองทุกวันแทน
เมื่อสมัยก่อน คุณครูเล่าให้เหล่านักเรียนแพทย์มือใหม่ฟังว่า ความสั้นยาวของเสื้อกาวน์นั้น เป็นหนึ่งในวิธีที่เราสามารถแยกแยะได้ว่าใครเป็นใครในโรงพยาบาล เสื้อกาวน์ยิ่งยาวแค่ไหน ก็บ่งบอกถึงความอาวุโสและความเก่งของแพทย์ท่านนั้น
ในโรงเรียนแพทย์สมัยก่อน นักเรียนแพทย์ทุกคนจะใส่เสื้อกาวน์แบบสั้น แพทย์อาวุโสก็จะใส่เสื้อกาวน์แบบยาว ทำให้สามารถแยกแยะได้ว่าใครเป็นใคร
คุณครูยังเอ่ยถึงประโยชน์ของเสื้อกาวน์อีกอย่างคือ กระเป๋ามากมายที่มาพร้อมกับเสื้อกาวน์ ทำให้เหล่าแพทย์สามารถใส่อุปกรณ์ทางการแพทย์ต่างๆลงไปได้เช่น หูฟัง ไม้เคาะ ไฟฉาย สมุดโน๊ด ปากกา ฯลฯ
นักเรียนแพทย์ลูกสาวเล่าให้ฟังต่อว่า ในความเห็นส่วนตัวนั้น การไม่ต้องมีเสื้อกาวน์นอกจากจะลดอัตราการแพร่เชื้อโรคแล้ว อาจจะทำให้ช่องว่างระหว่างแพทย์กับคนไข้ลดน้อยลง
เคยได้ยินเรื่อง "White gown effect" ไหมคะ นักเรียนแพทย์ลูกสาวถามลอยๆขึ้นมา แล้วก็เล่าต่อไปว่า เป็นชื่อของทฤษฎีที่กล่าวไว้ว่า ความดันโลหิตที่แพทย์หรือพยาบาลวัดที่สถานพยาบานั้น จะสูงกว่าค่าความดันที่วัดที่บ้านในช่วงเวลาเดียวกัน
บางทีการที่แพทย์ไม่ใส่เสื้อกาวน์ ทำตัวเสมอกับคนไข้ ก็อาจจะเป็นการลดช่องว่าง ลดความน่าเกรงขาม ของแพทย์ที่มีต่อคนไข้ คนไข้อาจจะกลัวแพทย์น้อยลง เปิดใจและคุยกับแพทย์มากขึ้น และนี่ก็คงเป็นข้อดีอีกข้อหนึ่งใช่ไหมคะ
เมื่อเวลาผ่านไปจากอดีตจนถึงปัจจุบัน ณ โรงพยาบาลแห่งนี้ เสื้อกาวน์สีขาวได้หายไป และวิธีที่เราจะสามารถรู้ได้ว่า ใครเป็นแพทย์ นักเรียนแพทย์ มีอยู่สองวิธีคือ หนึ่ง ดูป้าย ID ซึ่งมีตัวหนังสือค่อนข้างเล็กมองเห็นได้ยาก ต้องอาศัยความใกล้ชิดพอสมควร หรือถ้าใกล้ประชิดติดตัวขนาดนั้นแล้วก็ถามไปเลยว่า
"ขอโทษนะคะ คุณใช่คุณหมอหรือเปล่าคะ"
รับตัดเย็บชุดยูนิฟอร์ม ยูนิฟอร์มพนักงาน เสื้อโปโล เสื้อยืด เสื้อคอกลม สูท เสื้อสูท ชุดสูท สูทหญิง สูทผู้หญิง เสื้อกาวน์ เสื้อซาฟารี เสื้อช็อป เสื้อนักบิน ชุดนักบิน เสื้อแม่บ้าน ชุดแม่บ้าน กางเกง เสื้อเชฟ เสื้อกุ๊ก เชฟสากล เชฟญี่ปุ่น ชุดนักเรียนการบิน เสื้อเชิ้ต เสื้อยาม
โทรทันที 098-294-2241
Line : @workinguniform
20 พฤษภาคม 2564
ผู้ชม 6508 ครั้ง
แสดงความคิดเห็น